วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

ประวัติจังหวัดหนองบัวลำภู

ประวัติจังหวัดหนองบัวลำภู

           
             หนองบัวลำภูหรือในอดีตเรียกว่า นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ตามตำนานพระวอ-พระตา ผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภูเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2302 โดยได้สร้างกำแพงเมือง มีค่ายคูประตูหอรบครบครันเพื่อป้องกันข้าศึก โดยเฉพาะข้าศึกจากทางเวียงจันทน์ คือ ได้สร้างกำแพงหิน หอรบขึ้นที่เชิงเขาบนภูพานคำ ซึ่งเป็นเส้นทางหน้าด่านใกล้กับบริเวณน้ำตกเฒ่าโต้ ห่างจากกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร
              ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าสิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้ส่งกองทัพมาปราบปราม เกิดการต่อสู้กันที่ช่องน้ำจั่น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำ สู้รบกันอยู่สามปียังไม่แพ้ชนะกัน ทางฝ่ายเมืองเวียงจันทน์จึงขอกองทัพพม่ามาช่วยเหลือจนสามารถตีเมืองนคร เขื่อนขันธ์ฯ ได้ พระวอ-พระตาจึงได้อพยพผู้คนหนีไปพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งอาณาจักร ล้านช้างจำปาสัก ในปี พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพมาช่วยพระวอ-พระตาขับไล่กองทัพของพระเจ้าสิริบุญ สารออกไป แล้วยกกองทัพติดตามเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้ ครั้งนั้นได้ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมือง เชียงใหม่ เมืองนครเขื่อนขันธ์ฯ ก็ได้มาขึ้นอยู่กับไทย
               ในปี พ.ศ. 2433 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองบ้านเมือง ให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชาเมืองใหญ่ 16 เมือง เมืองขึ้น 36 เมือง เรียกว่า เมืองลาวฝ่ายเหนือ และเมืองนครเขื่อนขันธ์ฯ ก็ได้ขึ้นอยู่กับเมืองหนองคายนั้น เจ้าเมืองหนองคายได้แต่งตั้งให้พระวิชโยคมกมุทเขตมาครองเมืองนครเขื่อน ขันธ์ฯ ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอก และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองกมุทธาสัย จนในปี พ.ศ. 2443 ได้มีการเปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร และให้รวมเมืองต่าง ๆ ในมณฑลอุดรเป็น 5 บริเวณ เมืองกมุทธาสัยถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้ง และในปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยเป็น เมืองหนองบัวลำภู ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ได้ถูกลดฐานะลงเป็น อำเภอหนองบัวลำภู ขึ้นกับจังหวัดอุดรธานี โดยมีพระวิจารณ์กมุธกิจเป็นนายอำเภอคนแรก อำเภอหนองบัวลำภูมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งยกระดับเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู ในปี พ.ศ. 2536
            à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ หนองบัวลำภู  
                หนองบัวลำภู เดิมเคยเป็นอําเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานีประมาณ46กิโลเมตร ( มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร) ในอดีต จังหวัดหนองบัวลําภูเป็นเมืองโบราณที่ก่อตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 900 ปี เดิมเป็นดินแดนที่ขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต มีชื่อว่า ” เมืองหนองบัวลุ่มภู
               นครเขื่อนขันธกาบแก้วบัวบาน ” เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระจายอํานาจมายังส่วนภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การให้บริการของรัฐ การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน การส่งเสริมให้ท้องที่เจริญยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อความมั่นคงของชาติ ประกอบกับจังหวัดอุดรธานีมีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก
               จึงเห็นสมควรแยกอําเภอต่างๆ บางอําเภอ ตั้งขึ้นเป็นจังหวัด โดยได้รับการสถาปนาให้เป็นจังหวัดหนองบัวลําภูอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป

คำขวัญจังหวัดหนองบัวลำภู



คำขวัญจังหวัดหนองบัวลำภู


ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ

แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

ตราประจำจังหวัด



ตราประจำจังหวัดหนองบัวลำภู

ธงประจำจังหวัด


ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว

มีดวงตราสัญลักษณ์ประทับอยู่ตรงกลาง


ความหมาย
                   
                ๑. ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ 2117 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ยกกองทัพไปตีกรุงศรีสัตตนาคนหุตอาณาจักรล้านช้างในการศึกครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ยกพลมาพักบริเวณริมหนองบัวอยู่ระยะหนึ่ง จนเกิดประชวรเป็นไข้ทรพิษ จึงเสด็จยกทัพกลับ ชาวหนองบัวลำภูได้ร่วมใจกันสร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้สักการะ

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ดอกบัวหลวงสีชมพู


บัว 

                   บัวคือไม้น้ำที่มีเหง้าทอดยาวอยู่ในโคลนตม ใบมีลักษณะวงกลมขนาดใหญ่ จะถูกชูอยู่เหนือท้องน้ำ ก้านใบยาว หนามสากโดยรอบหากหักก้านใบบัวดู จะพบใยสีขาวเหนียวอยู่ภายใน ส่วนดอกนั้นมีหลายสีและหลายขนาด แล้วแต่ชนิดพันธุ์
บัวหลวง
                   บัวหลวงมีดอกขนาดใหญ่ สีขาว หรือชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เมล็ดบัวสามารถนำมารับประทานได้ ส่วนดอกนั้นนำมาใช้ในงานพิธีต่างๆ

สีประจำจังหวัด

  
ขาว - ชมพู
       สีขาว : หมายถึงแผ่นดินธรรม และความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
            สีชมพู : หมายถึงดินแดนแห่งดอกบัวที่งดงาม

ต้นไม้ประจำจังหวัด

                 
                   พยุง หรือ พยูง                            
                  “พะยูง” เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ตะเคียน มีชื่อและความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำใ้ห้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคงหรือการยกให้สูงขึ้น